วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 12.

เรื่อง...ข้อสอบปลายภาค!!!
รายวิชา. การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้คุมสอบ : อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

จงตอบคำถามต่อไปนี้....
1. ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ท่านต้องศึกษาเรื่องใดบ้าง? (5 คะแนน)
ตอบ.
ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น สิ่งแรกที่ครูปฐมวัยต้องคำนึงคือเรื่องพัฒนาการและความพร้อมของเด็ก ซึ่งองค์ประกอบทางภาษานั้นประกอบไปด้วยการพูด การอ่าน การเขียนและการฟัง ครูจะต้องมีเทคนิคและวิธีการสอนให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนรู้ จากนั้นการจัดกิจกรรมที่บูรณาการแบบองค์รวมคือการช่วยให้กับเด็กฝึกทักษะผ่านกิจกรรม การปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง จะทำให้เด็กเกิดการกระตือรือล้น อยากเรียนรู้อย่างสนุกสนานเพลิกเพลิน สิ่งนี้คือการส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระตามความต้องการของเด็ก
2.การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีวัตถุประสงค์อะไร? (5 คะแนน)
ตอบ. -เพื่อให้เด็กเกิดทักษะในการเรียนรู้ด้านการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียนในการนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
-เพื่อให้เด็กได้ซึมซับจากประสบการณ์ของตัวเด็กเอง เป็นการเกี่ยวเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆเพื่อนำไปใช้ต่อไปในภายภาคหน้า
-เพื่อเป็นการใช้ภาษาในการสื่อสารความหมายในชีวิตประจำวันได้
-เพื่อทราบถึงปัญหาทางภาษาของเด็ก และหาแนวทางในการแก้ปัญหาได้ทันถ่วงที
-เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้มีใช้ภาษาอย่างอิสระ แต่ต้องอยู่ในการดูแลของครูร่วมด้วย


3.หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีอะไรบ้าง? (10 คะแนน)

ตอบ. การจัดประสบการณ์ที่หลากหลายให้กับเด็กนั้นเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆ อันประกอบไปด้วยทักษะด้านการอ่าน การฟัง การพูด และการเขียน อาทิเช่นการฟังและการพูด : เด็กเล็กๆนั้นสามารถพัฒนาการพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ เด็กจะเรียนรู้คำศัพท์,การอ่านออกเสียงและรูปแบบการพูด จากการฟังและการพูดของเขานั่นเอง กิจกรรมที่จะส่งเสริมทางด้านการฟังและการพูดนั้น เช่นการฟังเทปนิทาน, การฟังข่าวสารจากวิทยุหรือโทรทัศน์ ,การเล่นเกมส์ และการปฏิบัติตามคำสั่งด้วยวาจา เป็นต้น ซึ่งการฝึกฝนการพูดและการฟังจะพัฒนาให้เกิดความสามารถทางด้านการใช้ภาษาซึ่งเป็นพื้นฐานของการอ่านและการเขียนต่อไปได้ด้วย
การอ่านร่วมกัน : เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เป็นกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ เด็กๆจะคอยฟังครูผู้สอนและนำมาเป็นแบบอย่าง เด็กเล็กๆสามารถอ่านร่วมไปพร้อมกับครู จากการอ่านในแต่ละครั้งเด็กจะเกิดการเรียนรู้และสามารถอ่านข้อความได้มากขึ้นไปเรื่อยๆ ในครั้งต่อๆไป เด็กจะมีความสนใจในสิ่งที่เขาต้องการ การอ่านหนังสือร่วมกันนี้จะช่วยให้เด้กสนุกสนานกับการอ่านและได้เรียนรู้วิธีใหม่ๆจากผู้อื่นด้วย
การเขียนสะกดคำ : การขีดเขียนอย่างเป็นธรรมชาตินั้น คือการยอมรับการสะกดคำที่เด็กคิดขึ้นเองซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติของเด็ก เริ่มแรกเด็กจะยังไม่รู้วิธีสะกดคำที่ถูกต้อง เมื่อเด็กได้รับการส่งเสริมระบบการรวมตัวอักษรให้เป็นคำหรือประโยค เด็กจะสามารถถ่ายทอดทักษะการเขียนลงบนกระดาษจากสิ่งที่เขาได้ยินหรือจากที่เคยเห็นมาได้ จนเมื่อเด็กเกิดความเข้าใจเรื่องของพยัญชนะและเสียง เด็กจะเกิดการเชื่อมโยงสระกับพยัญชนะเข้าด้วยกัน จนสามารถเขียนสิ่งต่างๆตามที่ครูกำหนดให้ได้อย่างถูกต้อง
4. ท่านมีแนวทางในการให้ความรู้กับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาได้อย่างไรบ้าง? (10คะแนน)
ตอบ.
ผู้ปกครองหรือพ่อแม่คือผู้ที่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุดดังนั้น พ่อแม่จึงต้องมีบทบาทคอยช่วยเหลือและสนับสนุนให้เด็กได้ฝึกพูด ฝึกอ่านออกเสียงบ่อยๆ เพื่อให้เด็กได้มีความมั่นใจและการกล้าแสดงออก การส่งเสริมทางภาษาให้กับเด็กนั้นเช่น
- การเล่านิทานให้ลูกฟัง เมื่อเล่านิทานจบให้ชวนลูกสนทนา ว่าในนิทานมีตัวละครใดบ้าง และได้อะไรแง่คิดจากนิทานบ้าง เป็นต้น
- การอ่านหนังสือพิมพ์ร่วมกันในตอนเช้าก่อนไปโรงเรียน นอกจากจะเป็นการอัพเดทข่าวสารที่เกิดขึ้นในชีวืตประจำวันแล้ว ยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีอีกด้วย
- การพาลูกออกไปทัศนศึกษายังสถานที่ต่างๆ เช่น สวนสัตว์การที่เด็กได้ยินเสียงร้องของสัตว์ต่างๆ เด็กก็จะเกิดการจดจำและเรียนรู้ เสียงของสัตว์ชนิดนั้นถือเป็นการพัฒนาด้านภาษาเช่นกัน
-พ่อและแม่ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ขีดเขียนหรือเขียนเรื่องราวใหม่ๆที่เด็กได้พบมาในแต่ละวัน พ่อแม่ส่งเสริมโดยการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆเช่น สมุด, ดินสอ, ปากกา และสีให้กับเด็กได้ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาอย่างเต็มที่ จากนั้นพ่อแม่ควรใช้พูดชักชวน หรือปฏิบัติไปพร้อมกับเด็กด้วยก็ได้
และสุดท้าย
- สภาพแวดล้อมภายในบ้านถือเป็นหัวใจหลักที่จะเพิ่มแรงกระตุ้นให้เด็กนั้นเกิดการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นพ่อและแม่จึงควรจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆให้กับลูกได้มีโอกาสเรียนรู้อย่างอิสระ ตามสิ่งที่เขาสนใจ เช่น การเตรียมหนังสือนิทานไว้บนชั้นที่หยิบง่ายๆเพื่อส่งเสริมด้านการอ่าน , การเตรียมสีชนิดต่างๆให้กับเด็กได้แต่งแต้มศิลปะ พ่อแม่ควรให้สนใจและคำชมเชยกับผลงานของเขา เพื่อให้เด็กนั้นเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในผลงานการพูดคุยนั้นก็เป็นการส่งเสริมทางด้านภาษาให้กับเด็ก และ การร้องเพลง บางครอบครัวอาจจะไม่ได้ฐานะร่ำรวยถึงกับมีห้องคาราโอเกะไว้สำหรับการร้องเพลง เพียงแค่บรรยากาศเย็นสบาย ร้องเพลง เหมาะสำหรับการพักผ่อนก็ถือเป็นการส่งเสริมด้านภาษาให้กับลูกเช่นกัน
5. ให้ท่านเลือกกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาที่ท่านชอบมากที่สุด พร้อมให้เหตุผล [ชื่อ, วัตุประสงค์,กิจกรรม,ประเมินผล] (10 คะแนน)
ตอบ.
ชื่อกิจกรรม : ทำหนังสือนิทานจากเรื่องที่อ่าน !!!
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อฝึกให้เด็กมีความตั้งใจและเกิดสมาธิขณะฟังนิทาน
2.เพื่อให้เด็กรู้จักคำคุ้นตา, รู้จักรูปร่างและทิศทางของตัวอักษร
3.เพื่อฝึกการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่นและการมีมารยาทในการฟัง
4.เพื่อเสริม
สร้างความคิดและจินตนาการให้กับเด็ก
กิจกรรม : ครูให้เด็กๆเลือกวาดภาพและระบายสีจากหน้าต่างๆของนิทานที่เด็กๆสนใจ 1คน ต่อ1ภาพ โดยครูถามว่าใครจะวาดหน้าไหน ครูนำข้อความจากหนังสือนิทานนำมาปะลงใต้ภาพ จากนั้นนำผลงานของเด็กแต่ละคนมาประกอบเข้าเล่ม ครูกับเด็กร่วมกันอ่านหนังสือนิทานที่ทำขึ้น เมื่อจบแล้วให้เด็กๆนำไปเก็บไว้ที่มุมหนังสือเพื่อเก็บไว้อ่านในครั้งต่อไป
การประเมินผล : - สังเกตพฤติกรรมของเด็ก จากการตั้งใจฟังอย่างมีสมาธิ
- สังเกตการมองข้อความในหนังสือ และ การถือหนังสือ
- สังเกตการจากตอบคำถาม



วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 11.

ใน วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมา...
เป็นการเรียนครั้งสุดท้ายของรายวิชานี้ YOY

อาจารย์จ๋า กล่าวสรุปเกี่ยวกับรายวิชานี้
ว่าได้อะไรจากวิชานี้บ้าง??

1.ได้เรียนรู้การใช้สื่อ ในการนำมาประกอบการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุด


2.ได้เก็บเกี่ยวความรู้ทั้งด้าน ทฤษฎีและการปฏิบัติทางกานใช้ภาษาอย่างถูกต้อง

3.อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำBlog and การใส่Slide

4.การได้ลงปฏิบัติกับเด็กจริงๆ ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีก่อนจะได้ไปฝึกสอน

5.อาจารย์แจกแบบประเมินผู้สอน ให้กับนักศึกษาได้ประเมินตัวอาจารย์ในการสอนตลอดภาคเรียนนี้

6.อาจารย์นัดหมายการสอบปลายภาค ในวันที่2 มีนาคม 2553 ณ.ตึกสาธิต

ต้องขอขอบคุณ...อาจารย์จ๋าอย่างมากๆ :)))

ที่ได้สั่งสอนหนูตลอดภาคเรียนนี้ ถึงจะเป็นช่วงเวลาที่ไม่นานมากเท่าไหร่ แต่หนูก็ได้เกี่ยวเกี่ยวหลายสิ่งหลายอย่างจากสำหรับรายวิชานี่ ที่จะนำไปปรับใช้ต่อไปในอนาคต...


วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่10.

วันศุกร์ที่12 กุมภาพันธ์ 2553


จากสัปดาห์ที่แล้ว ให้นักศึกษาไปอ่านเรื่องนิทาน

" แม่ไก่สีแดง "


ซึ่งวันนี้อาจารย์ได้เรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาในให้เล่า

และวิเคราะห์เรื่องแม่ไก่สีแดง....


จากที่ได้ไปศึกษาเนื้อเรื่องแม่ไก่สีแดงดิฉันจะเล่าตามความเข้าใจของฉันนะคะ...

เรื่องมีอยู่ว่า...ในบ้านหลังหนึ่งมีสัตว์ 4 ชนิดคือ หมู แมว เป็ด และแม่ไก่สีแดง

แม่ไก่สีแดงเป็นสัตว์ที่ขยันกว่าตัวอื่นๆ วันหนึ่งชาวนาจึงให้ข้าวมากระบุงหนึ่ง...

แม่ไก่ถามเพื่อนๆว่า "มีใครจะช่วยฉันตำข้าวบ้าง"หมู แมว เป็ดต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า " ไม่ ! "

จากนั้นแม่ไก่ก็ถามต่อว่า"ใครจะช่วยฉันขูดมะพร้าวบ้าง" สัตว์ทุกตัวก็ตอบอีกว่า "ไม่"

แม่ไก่แดงไปที่กระต่ายขูดมะพร้าว ขูดมะพร้าวคั้นกะทิจนเสร็จ แม่ไก่แดงก็ถามอีกว่า "มีใครจะช่วยฉันติดไฟบ้าง" สัตว์ทุกตัวก็ปฏิเสธการการขอความช่วยเหลือจากแม่ไก่สีแดง

พอแม่ไก่แดงติดไฟเสร็จแล้วก็เริ่มหยดน้ำแป้งและน้ำกะทิลงในเบ้าขนมครก พอขนมครกนั้นสุกได้ที่ ก็สิ่งกลิ่นหอมหวนชวนรับประทาน หมู แมว และเป็ด ต่างก็วิ่งมาดูขนมครกรู้สึกอยากกินขนมครกนั้นเป็นอย่างมาก....


แม่ไก่สีแดงก็ถามว่า "มีใครอยากช่วยฉันกินขนมครกบ้าง"
หมู เป็ดและแมวรีบตอบโดยเร็วว่า "ฉันจะช่วย"

แต่แม่ไก่แดงตอบว่า.... "อย่าช่วยฉันเลย,, ฉันทำทุกอย่างได้เอง ฉันตำข้าว โม่แป้ง ขูดมะพร้าว ติดไฟ แคะขนมครกเอง และฉันก็จะกินขนมครกของฉันเองเหมือนกัน" แล้วแม่ไก่สีแดงก็ยกจานขนมครกไปนั่งกินคนเดียวตามลำพัง....



"แต่จริงๆแล้วแม่ไก่สีแดงก็อยากให้เพื่อนๆมากินขนมครกด้วยกัน แต่คิดว่าควรให้เพื่อนๆสำนึกสักครั้งว่า ไม่ควรเอาแต่สบายให้เพื่อนทำงานอยู่คนเดียวแล้วหวังผลแต่จะสบาย "

หมู เป็ดและแมวรู้สึกเสียใจมาก ดังนั้นในวันต่อๆมาพวกเพื่อนๆจึงไม่ปล่อยให้แม่ไก่สีแดงต้องทำนตามลำพังอีกแต่จะช่วยกันทำงานเสมอ แม่ไก่สีแดงรู้สึกสบายใจ... เพื่อนๆก็มีความสุข^^

The End ...

จากเรื่องแม่ไก่สีแดง ได้แง่คิดในเรื่องของ

" ความสามัคคีกัน "

และ

" การไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นในการทำงานเพื่อความสบายส่วนตัว "

= = = = = = = = = = = = = = = = =

จากนั้น...
กิจกรรมต่อไปในวันนี้คือ การใช้โปรแกรม Mind Mapper ...
โดยนำนิทานที่เตรียมมาจากสัปดาห์ที่แล้วมาปรับใช้กับโปรแกรม
ได้ตัวอย่างดังนี้..

นิทานที่นำมาคือเรื่อง "เด็กชาย กับ ต้นแอปเปิ้ล" ให้นำส่วนประกอบต่างๆที่เกี่ยวกับแอปเปิ้ลมาแตกออกเป็นแขนงย่อยๆตามการจับใจความ...



ภาพ ประกอบการปฏิบัติโปรแกรม

มายแม็ปเปอร์ในชั้นเรียน

= = = = = = = = = = = = = =

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่9.


วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้นำเสนอ Power Point หน้าชั้นเรียน
รายงานผลการจัดกิจกรรม ของกลุ่มต่างๆอาจารย์ให้ความเห็นว่า...

นักศึกษาไม่ควรสรุปฟฤติกรรมที่เด็กแสดงออกเพียงครั้งเดียวที่เห็นแล้วสรุปผลเลยเพราะเด็กชันปฐมวัยจัดกิจกรรมกลุ่มไม่ได้ เพราะเด็กเล็กยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลางอยู่


จากนั้นอาจารย์สอนต่อในเรื่องของ
"องค์ประกอบของภาษา"
ซึ่งประกอบไปด้วย ...
1.การพูด
2.การฟัง
3.การอ่าน
4.การเขียน
ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทาภาษา ...


และการจัดสภาพแวดล้อมนั้น จะต้องสอดคล้องกับวิธีการสอน
ครูจะต้องส่งเสริมโดยการจัดสภาพแว้ดล้อม
เพื่อเป็นช่วยกระตุ้นให้เด็กได้มีประสบการณ์หรือการจัดมุมต่างๆ
ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กด้วย


จากนั้นครูต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออก และให้เด็กได้รู้จักการสะท้อนความคิดของตนเองออกมา เช่น การจับกลุ่มกันสนทนาในหัวข้อต่างๆ ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น





บันทึกครั้งที่8



วันนี้อาจารย์ทบทวนและพูดคุยกับนักศึกษา เกี่ยวกับงานกลุ่มที่สั่งให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม4คน 6กลุ่ม
จัดกิจกรรมทางภาษาที่โรงเรียนอนุบาลสาธิตจันทรเกษม

อาจารย์บอกรายละเอียดและยกตัวอย่างกิจกรรมของแต่ละกลุ่มให้นักศึกษาฟังและฝึกให้นักศึกษาคิดตาม พร้อมทำความเข้าใจ-พร้อมทั้งให้นักศึกษาทำตารางการจัดกิจกรรมทางภาษาส่งมาให้อาจาย์ดูทุกกลุ่ม


อาจารย์ตรวจงานปริศนาคำทาย ให้กับนักศึกษา
และให้นักศึกษา ทำปริศนาคำทายในรูปแบบ POWER Point
......

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่6.





วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ 2552

อาจารย์สั่งงานว่าจะให้นักศึกษาจับกลุ่มวันละ3คน ไปเล่านิทานตอนเช้าให้เด็กฟังที่สาธิตอนุบาลจันทรเกษม ให้วางแผน จดบันทึก และถ่ายรูป (บันทึกลงบล็อก) รายละเอียดต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมควรที่จะเลือกเรื่องแบบไหนเล่าเรื่องอะไร หน่วยที่จะเล่า เป็นต้นบรรยากาศในห้องเรียนบรรยากาศเย็นสบาย เรียนแบบสบายๆ มีการถามตอบแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน

บันทึกครั้งที่5.




วันนี้นำเสนองานต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว!

กลุ่มที่4 การสอนภาษาแบบองค์รวมการสอนภาษาแบบองค์รวม เป็นปรัชญาแนวคิดความเชื่อที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ เป็นการสอนที่เน้นพัฒนาการทุกๆด้าน ทั้งการ ฟัง พูด อ่าน เขียน สิ่งสำคัญในการสอนภาษาแบบองค์รวมคือต้องพัฒนาให้เข้ากับผู้เรียนเป็นสำคัญ


ลุ่มที่5
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กการจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก ควรคำนึงถึงเด็กเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้าน การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กในการจัดควรจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ จัดให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ทางภาษาหลักการจัดประสบการณ์ เป็นวิธีที่เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ให้เด็กลงมือกระทำ

ทางด้านจิตวิทยาเป็นการทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลง คือการได้ทดลองปฏิบัติ ต้องเป็นการปฏิบัติที่เป็นไปตามธรรมชาติ คือ มีอิสระ สนุกสนาน ไม่มีกรอบ เป้นการจัดบนพื้นฐานความสนุกสนาน ไม่มีขอบเขตบังคับบรรรยากาศในการเรียนการนำเสนองานวันนี้มีข้อผิดพลาด คือ ปัญหาของคำควบกล้ำ ในการนำเสนอ ต้องพยายามฝึก น้ำเสียง คำพูด ภาษา อากาศในห้องเย็นสบาย