วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 12.

เรื่อง...ข้อสอบปลายภาค!!!
รายวิชา. การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้คุมสอบ : อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

จงตอบคำถามต่อไปนี้....
1. ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ท่านต้องศึกษาเรื่องใดบ้าง? (5 คะแนน)
ตอบ.
ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น สิ่งแรกที่ครูปฐมวัยต้องคำนึงคือเรื่องพัฒนาการและความพร้อมของเด็ก ซึ่งองค์ประกอบทางภาษานั้นประกอบไปด้วยการพูด การอ่าน การเขียนและการฟัง ครูจะต้องมีเทคนิคและวิธีการสอนให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนรู้ จากนั้นการจัดกิจกรรมที่บูรณาการแบบองค์รวมคือการช่วยให้กับเด็กฝึกทักษะผ่านกิจกรรม การปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง จะทำให้เด็กเกิดการกระตือรือล้น อยากเรียนรู้อย่างสนุกสนานเพลิกเพลิน สิ่งนี้คือการส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระตามความต้องการของเด็ก
2.การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีวัตถุประสงค์อะไร? (5 คะแนน)
ตอบ. -เพื่อให้เด็กเกิดทักษะในการเรียนรู้ด้านการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียนในการนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
-เพื่อให้เด็กได้ซึมซับจากประสบการณ์ของตัวเด็กเอง เป็นการเกี่ยวเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆเพื่อนำไปใช้ต่อไปในภายภาคหน้า
-เพื่อเป็นการใช้ภาษาในการสื่อสารความหมายในชีวิตประจำวันได้
-เพื่อทราบถึงปัญหาทางภาษาของเด็ก และหาแนวทางในการแก้ปัญหาได้ทันถ่วงที
-เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้มีใช้ภาษาอย่างอิสระ แต่ต้องอยู่ในการดูแลของครูร่วมด้วย


3.หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีอะไรบ้าง? (10 คะแนน)

ตอบ. การจัดประสบการณ์ที่หลากหลายให้กับเด็กนั้นเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆ อันประกอบไปด้วยทักษะด้านการอ่าน การฟัง การพูด และการเขียน อาทิเช่นการฟังและการพูด : เด็กเล็กๆนั้นสามารถพัฒนาการพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ เด็กจะเรียนรู้คำศัพท์,การอ่านออกเสียงและรูปแบบการพูด จากการฟังและการพูดของเขานั่นเอง กิจกรรมที่จะส่งเสริมทางด้านการฟังและการพูดนั้น เช่นการฟังเทปนิทาน, การฟังข่าวสารจากวิทยุหรือโทรทัศน์ ,การเล่นเกมส์ และการปฏิบัติตามคำสั่งด้วยวาจา เป็นต้น ซึ่งการฝึกฝนการพูดและการฟังจะพัฒนาให้เกิดความสามารถทางด้านการใช้ภาษาซึ่งเป็นพื้นฐานของการอ่านและการเขียนต่อไปได้ด้วย
การอ่านร่วมกัน : เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เป็นกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ เด็กๆจะคอยฟังครูผู้สอนและนำมาเป็นแบบอย่าง เด็กเล็กๆสามารถอ่านร่วมไปพร้อมกับครู จากการอ่านในแต่ละครั้งเด็กจะเกิดการเรียนรู้และสามารถอ่านข้อความได้มากขึ้นไปเรื่อยๆ ในครั้งต่อๆไป เด็กจะมีความสนใจในสิ่งที่เขาต้องการ การอ่านหนังสือร่วมกันนี้จะช่วยให้เด้กสนุกสนานกับการอ่านและได้เรียนรู้วิธีใหม่ๆจากผู้อื่นด้วย
การเขียนสะกดคำ : การขีดเขียนอย่างเป็นธรรมชาตินั้น คือการยอมรับการสะกดคำที่เด็กคิดขึ้นเองซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติของเด็ก เริ่มแรกเด็กจะยังไม่รู้วิธีสะกดคำที่ถูกต้อง เมื่อเด็กได้รับการส่งเสริมระบบการรวมตัวอักษรให้เป็นคำหรือประโยค เด็กจะสามารถถ่ายทอดทักษะการเขียนลงบนกระดาษจากสิ่งที่เขาได้ยินหรือจากที่เคยเห็นมาได้ จนเมื่อเด็กเกิดความเข้าใจเรื่องของพยัญชนะและเสียง เด็กจะเกิดการเชื่อมโยงสระกับพยัญชนะเข้าด้วยกัน จนสามารถเขียนสิ่งต่างๆตามที่ครูกำหนดให้ได้อย่างถูกต้อง
4. ท่านมีแนวทางในการให้ความรู้กับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาได้อย่างไรบ้าง? (10คะแนน)
ตอบ.
ผู้ปกครองหรือพ่อแม่คือผู้ที่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุดดังนั้น พ่อแม่จึงต้องมีบทบาทคอยช่วยเหลือและสนับสนุนให้เด็กได้ฝึกพูด ฝึกอ่านออกเสียงบ่อยๆ เพื่อให้เด็กได้มีความมั่นใจและการกล้าแสดงออก การส่งเสริมทางภาษาให้กับเด็กนั้นเช่น
- การเล่านิทานให้ลูกฟัง เมื่อเล่านิทานจบให้ชวนลูกสนทนา ว่าในนิทานมีตัวละครใดบ้าง และได้อะไรแง่คิดจากนิทานบ้าง เป็นต้น
- การอ่านหนังสือพิมพ์ร่วมกันในตอนเช้าก่อนไปโรงเรียน นอกจากจะเป็นการอัพเดทข่าวสารที่เกิดขึ้นในชีวืตประจำวันแล้ว ยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีอีกด้วย
- การพาลูกออกไปทัศนศึกษายังสถานที่ต่างๆ เช่น สวนสัตว์การที่เด็กได้ยินเสียงร้องของสัตว์ต่างๆ เด็กก็จะเกิดการจดจำและเรียนรู้ เสียงของสัตว์ชนิดนั้นถือเป็นการพัฒนาด้านภาษาเช่นกัน
-พ่อและแม่ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ขีดเขียนหรือเขียนเรื่องราวใหม่ๆที่เด็กได้พบมาในแต่ละวัน พ่อแม่ส่งเสริมโดยการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆเช่น สมุด, ดินสอ, ปากกา และสีให้กับเด็กได้ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาอย่างเต็มที่ จากนั้นพ่อแม่ควรใช้พูดชักชวน หรือปฏิบัติไปพร้อมกับเด็กด้วยก็ได้
และสุดท้าย
- สภาพแวดล้อมภายในบ้านถือเป็นหัวใจหลักที่จะเพิ่มแรงกระตุ้นให้เด็กนั้นเกิดการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นพ่อและแม่จึงควรจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆให้กับลูกได้มีโอกาสเรียนรู้อย่างอิสระ ตามสิ่งที่เขาสนใจ เช่น การเตรียมหนังสือนิทานไว้บนชั้นที่หยิบง่ายๆเพื่อส่งเสริมด้านการอ่าน , การเตรียมสีชนิดต่างๆให้กับเด็กได้แต่งแต้มศิลปะ พ่อแม่ควรให้สนใจและคำชมเชยกับผลงานของเขา เพื่อให้เด็กนั้นเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในผลงานการพูดคุยนั้นก็เป็นการส่งเสริมทางด้านภาษาให้กับเด็ก และ การร้องเพลง บางครอบครัวอาจจะไม่ได้ฐานะร่ำรวยถึงกับมีห้องคาราโอเกะไว้สำหรับการร้องเพลง เพียงแค่บรรยากาศเย็นสบาย ร้องเพลง เหมาะสำหรับการพักผ่อนก็ถือเป็นการส่งเสริมด้านภาษาให้กับลูกเช่นกัน
5. ให้ท่านเลือกกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาที่ท่านชอบมากที่สุด พร้อมให้เหตุผล [ชื่อ, วัตุประสงค์,กิจกรรม,ประเมินผล] (10 คะแนน)
ตอบ.
ชื่อกิจกรรม : ทำหนังสือนิทานจากเรื่องที่อ่าน !!!
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อฝึกให้เด็กมีความตั้งใจและเกิดสมาธิขณะฟังนิทาน
2.เพื่อให้เด็กรู้จักคำคุ้นตา, รู้จักรูปร่างและทิศทางของตัวอักษร
3.เพื่อฝึกการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่นและการมีมารยาทในการฟัง
4.เพื่อเสริม
สร้างความคิดและจินตนาการให้กับเด็ก
กิจกรรม : ครูให้เด็กๆเลือกวาดภาพและระบายสีจากหน้าต่างๆของนิทานที่เด็กๆสนใจ 1คน ต่อ1ภาพ โดยครูถามว่าใครจะวาดหน้าไหน ครูนำข้อความจากหนังสือนิทานนำมาปะลงใต้ภาพ จากนั้นนำผลงานของเด็กแต่ละคนมาประกอบเข้าเล่ม ครูกับเด็กร่วมกันอ่านหนังสือนิทานที่ทำขึ้น เมื่อจบแล้วให้เด็กๆนำไปเก็บไว้ที่มุมหนังสือเพื่อเก็บไว้อ่านในครั้งต่อไป
การประเมินผล : - สังเกตพฤติกรรมของเด็ก จากการตั้งใจฟังอย่างมีสมาธิ
- สังเกตการมองข้อความในหนังสือ และ การถือหนังสือ
- สังเกตการจากตอบคำถาม



วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 11.

ใน วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมา...
เป็นการเรียนครั้งสุดท้ายของรายวิชานี้ YOY

อาจารย์จ๋า กล่าวสรุปเกี่ยวกับรายวิชานี้
ว่าได้อะไรจากวิชานี้บ้าง??

1.ได้เรียนรู้การใช้สื่อ ในการนำมาประกอบการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุด


2.ได้เก็บเกี่ยวความรู้ทั้งด้าน ทฤษฎีและการปฏิบัติทางกานใช้ภาษาอย่างถูกต้อง

3.อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำBlog and การใส่Slide

4.การได้ลงปฏิบัติกับเด็กจริงๆ ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีก่อนจะได้ไปฝึกสอน

5.อาจารย์แจกแบบประเมินผู้สอน ให้กับนักศึกษาได้ประเมินตัวอาจารย์ในการสอนตลอดภาคเรียนนี้

6.อาจารย์นัดหมายการสอบปลายภาค ในวันที่2 มีนาคม 2553 ณ.ตึกสาธิต

ต้องขอขอบคุณ...อาจารย์จ๋าอย่างมากๆ :)))

ที่ได้สั่งสอนหนูตลอดภาคเรียนนี้ ถึงจะเป็นช่วงเวลาที่ไม่นานมากเท่าไหร่ แต่หนูก็ได้เกี่ยวเกี่ยวหลายสิ่งหลายอย่างจากสำหรับรายวิชานี่ ที่จะนำไปปรับใช้ต่อไปในอนาคต...


วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่10.

วันศุกร์ที่12 กุมภาพันธ์ 2553


จากสัปดาห์ที่แล้ว ให้นักศึกษาไปอ่านเรื่องนิทาน

" แม่ไก่สีแดง "


ซึ่งวันนี้อาจารย์ได้เรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาในให้เล่า

และวิเคราะห์เรื่องแม่ไก่สีแดง....


จากที่ได้ไปศึกษาเนื้อเรื่องแม่ไก่สีแดงดิฉันจะเล่าตามความเข้าใจของฉันนะคะ...

เรื่องมีอยู่ว่า...ในบ้านหลังหนึ่งมีสัตว์ 4 ชนิดคือ หมู แมว เป็ด และแม่ไก่สีแดง

แม่ไก่สีแดงเป็นสัตว์ที่ขยันกว่าตัวอื่นๆ วันหนึ่งชาวนาจึงให้ข้าวมากระบุงหนึ่ง...

แม่ไก่ถามเพื่อนๆว่า "มีใครจะช่วยฉันตำข้าวบ้าง"หมู แมว เป็ดต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า " ไม่ ! "

จากนั้นแม่ไก่ก็ถามต่อว่า"ใครจะช่วยฉันขูดมะพร้าวบ้าง" สัตว์ทุกตัวก็ตอบอีกว่า "ไม่"

แม่ไก่แดงไปที่กระต่ายขูดมะพร้าว ขูดมะพร้าวคั้นกะทิจนเสร็จ แม่ไก่แดงก็ถามอีกว่า "มีใครจะช่วยฉันติดไฟบ้าง" สัตว์ทุกตัวก็ปฏิเสธการการขอความช่วยเหลือจากแม่ไก่สีแดง

พอแม่ไก่แดงติดไฟเสร็จแล้วก็เริ่มหยดน้ำแป้งและน้ำกะทิลงในเบ้าขนมครก พอขนมครกนั้นสุกได้ที่ ก็สิ่งกลิ่นหอมหวนชวนรับประทาน หมู แมว และเป็ด ต่างก็วิ่งมาดูขนมครกรู้สึกอยากกินขนมครกนั้นเป็นอย่างมาก....


แม่ไก่สีแดงก็ถามว่า "มีใครอยากช่วยฉันกินขนมครกบ้าง"
หมู เป็ดและแมวรีบตอบโดยเร็วว่า "ฉันจะช่วย"

แต่แม่ไก่แดงตอบว่า.... "อย่าช่วยฉันเลย,, ฉันทำทุกอย่างได้เอง ฉันตำข้าว โม่แป้ง ขูดมะพร้าว ติดไฟ แคะขนมครกเอง และฉันก็จะกินขนมครกของฉันเองเหมือนกัน" แล้วแม่ไก่สีแดงก็ยกจานขนมครกไปนั่งกินคนเดียวตามลำพัง....



"แต่จริงๆแล้วแม่ไก่สีแดงก็อยากให้เพื่อนๆมากินขนมครกด้วยกัน แต่คิดว่าควรให้เพื่อนๆสำนึกสักครั้งว่า ไม่ควรเอาแต่สบายให้เพื่อนทำงานอยู่คนเดียวแล้วหวังผลแต่จะสบาย "

หมู เป็ดและแมวรู้สึกเสียใจมาก ดังนั้นในวันต่อๆมาพวกเพื่อนๆจึงไม่ปล่อยให้แม่ไก่สีแดงต้องทำนตามลำพังอีกแต่จะช่วยกันทำงานเสมอ แม่ไก่สีแดงรู้สึกสบายใจ... เพื่อนๆก็มีความสุข^^

The End ...

จากเรื่องแม่ไก่สีแดง ได้แง่คิดในเรื่องของ

" ความสามัคคีกัน "

และ

" การไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นในการทำงานเพื่อความสบายส่วนตัว "

= = = = = = = = = = = = = = = = =

จากนั้น...
กิจกรรมต่อไปในวันนี้คือ การใช้โปรแกรม Mind Mapper ...
โดยนำนิทานที่เตรียมมาจากสัปดาห์ที่แล้วมาปรับใช้กับโปรแกรม
ได้ตัวอย่างดังนี้..

นิทานที่นำมาคือเรื่อง "เด็กชาย กับ ต้นแอปเปิ้ล" ให้นำส่วนประกอบต่างๆที่เกี่ยวกับแอปเปิ้ลมาแตกออกเป็นแขนงย่อยๆตามการจับใจความ...



ภาพ ประกอบการปฏิบัติโปรแกรม

มายแม็ปเปอร์ในชั้นเรียน

= = = = = = = = = = = = = =

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่9.


วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้นำเสนอ Power Point หน้าชั้นเรียน
รายงานผลการจัดกิจกรรม ของกลุ่มต่างๆอาจารย์ให้ความเห็นว่า...

นักศึกษาไม่ควรสรุปฟฤติกรรมที่เด็กแสดงออกเพียงครั้งเดียวที่เห็นแล้วสรุปผลเลยเพราะเด็กชันปฐมวัยจัดกิจกรรมกลุ่มไม่ได้ เพราะเด็กเล็กยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลางอยู่


จากนั้นอาจารย์สอนต่อในเรื่องของ
"องค์ประกอบของภาษา"
ซึ่งประกอบไปด้วย ...
1.การพูด
2.การฟัง
3.การอ่าน
4.การเขียน
ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทาภาษา ...


และการจัดสภาพแวดล้อมนั้น จะต้องสอดคล้องกับวิธีการสอน
ครูจะต้องส่งเสริมโดยการจัดสภาพแว้ดล้อม
เพื่อเป็นช่วยกระตุ้นให้เด็กได้มีประสบการณ์หรือการจัดมุมต่างๆ
ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กด้วย


จากนั้นครูต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออก และให้เด็กได้รู้จักการสะท้อนความคิดของตนเองออกมา เช่น การจับกลุ่มกันสนทนาในหัวข้อต่างๆ ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น





บันทึกครั้งที่8



วันนี้อาจารย์ทบทวนและพูดคุยกับนักศึกษา เกี่ยวกับงานกลุ่มที่สั่งให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม4คน 6กลุ่ม
จัดกิจกรรมทางภาษาที่โรงเรียนอนุบาลสาธิตจันทรเกษม

อาจารย์บอกรายละเอียดและยกตัวอย่างกิจกรรมของแต่ละกลุ่มให้นักศึกษาฟังและฝึกให้นักศึกษาคิดตาม พร้อมทำความเข้าใจ-พร้อมทั้งให้นักศึกษาทำตารางการจัดกิจกรรมทางภาษาส่งมาให้อาจาย์ดูทุกกลุ่ม


อาจารย์ตรวจงานปริศนาคำทาย ให้กับนักศึกษา
และให้นักศึกษา ทำปริศนาคำทายในรูปแบบ POWER Point
......

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่6.





วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ 2552

อาจารย์สั่งงานว่าจะให้นักศึกษาจับกลุ่มวันละ3คน ไปเล่านิทานตอนเช้าให้เด็กฟังที่สาธิตอนุบาลจันทรเกษม ให้วางแผน จดบันทึก และถ่ายรูป (บันทึกลงบล็อก) รายละเอียดต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมควรที่จะเลือกเรื่องแบบไหนเล่าเรื่องอะไร หน่วยที่จะเล่า เป็นต้นบรรยากาศในห้องเรียนบรรยากาศเย็นสบาย เรียนแบบสบายๆ มีการถามตอบแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน

บันทึกครั้งที่5.




วันนี้นำเสนองานต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว!

กลุ่มที่4 การสอนภาษาแบบองค์รวมการสอนภาษาแบบองค์รวม เป็นปรัชญาแนวคิดความเชื่อที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ เป็นการสอนที่เน้นพัฒนาการทุกๆด้าน ทั้งการ ฟัง พูด อ่าน เขียน สิ่งสำคัญในการสอนภาษาแบบองค์รวมคือต้องพัฒนาให้เข้ากับผู้เรียนเป็นสำคัญ


ลุ่มที่5
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กการจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก ควรคำนึงถึงเด็กเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้าน การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กในการจัดควรจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ จัดให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ทางภาษาหลักการจัดประสบการณ์ เป็นวิธีที่เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ให้เด็กลงมือกระทำ

ทางด้านจิตวิทยาเป็นการทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลง คือการได้ทดลองปฏิบัติ ต้องเป็นการปฏิบัติที่เป็นไปตามธรรมชาติ คือ มีอิสระ สนุกสนาน ไม่มีกรอบ เป้นการจัดบนพื้นฐานความสนุกสนาน ไม่มีขอบเขตบังคับบรรรยากาศในการเรียนการนำเสนองานวันนี้มีข้อผิดพลาด คือ ปัญหาของคำควบกล้ำ ในการนำเสนอ ต้องพยายามฝึก น้ำเสียง คำพูด ภาษา อากาศในห้องเย็นสบาย

บันทึกครั้งที่ 4.




อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน...


สรุปใจความสำคัญไว้ ดังนี้...




กลุ่ม1. ความหมายของภาษาภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร มี2 ประเภท คือ วัจนภาษา และอวัจนภาษาวัจนภาษา คือ ภาษาที่เป็นถ้อยคำ การพูด ส่วนอวัจนภาษาเป็นภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำ นอกเหนือการใช้คำพูด ในการจัดประสบการณ์ทางภาษา เป็นเครื่องมือของการคิด การแสดงออกถึงความต้องการให้สื่อถึงความเข้าใจกัน






กลุ่ม2 ทฤษฏีทางสติปัญญาเพียเจต์ กล่าวว่า การเรียนรู้ของเด็กเรียนรู้ผ่านระบบประสาท การขยายโครงสร้าง การปรับเข้าสู้โครงสร้างบรูเนอร์ แบ่งการเรียนรู้เป็น 3 ขั้น คือ ขั้นการเรียนรู้การกระทำขั้นการเรียนรู้ด้วยภาพและจินตนาการขั้นการเรียนรู้ด้วยสัญลักษณ์การเรียนรู้จะเกิดก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม






กลุ่ม3 จิตวิทยาการเรียนรู้การเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย สำหรับมนุษย์การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลกอื่น ๆจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน ๓ ด้าน ดังนี้๑. ด้านพุทธิพิสัย ๒. ด้านเจตพิสัย ๓. ด้านทักษะพิสัยองค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้๑. แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล ๒. สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ๓. การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมา๔. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคล






กลุ่ม4 การสอนภาษาแบบองค์รวมเป็นการสอนภาษาที่เป็นไปตามธรรมชาติ ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ภาษาของตนเองอย่างอิสระ เน้นการการนำรวมวรรณกรรมต่างๆที่ดีมาเป็นสื่อการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ที่หลาหหลาย หลักการสอนให้เด็กเห็นภาพจริงและของจริงบรรยากาศในการเรียนวันนี้มีการเรียนแบบการออกมารายงานหน้าชั้นเป็นกลุ่ม อากาศในห้องเย็นสบาย

บันทึกครั้งที่3.


วันที่27 พ.ย.52 อาจารย์ ไปสัมนาการพัฒนาหลักสูตร ที่ จ.กาญจนบุรี ให้นักศึกษาค้นคว้าและนำเสนอกิจกรรมและสื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยโดยเขียนลงในบล็อก


.....